วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559

หญ้าไผ่น้ำ

สมุนไพรสำหรับผู้ป่วยโรคไต

หญ้าไผ่น้ำ (จุ้ยเต็กเฉ้า)
หญ้า ไผ่น้ำ หรือ หญ้าจุยเต็กเฉ้า หรือ หญ้าดอกฮวยอะเจียเฉ้า ถิ่นกำเนิดที่มณฑลกวงสี มณฑลกวางตุ้ง และมณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีน มีผู้นำไปปลูกที่สิงคโปร์ เพื่อเป็นยาทานแก้พิษร้อนใน ต่อมา พบว่าเป็นยาสมุนไพร ที่สามารถขับพิษที่ตกค้างในไต ออกทางปัสสาวะ ทำให้ไตคืนสภาพเป็นปกติ
หญ้าไผ่น้ำเป็นไม้ล้ม ลุก มีลักษณะ ใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบเรียวกลม ด้านบนสีเขียว ด้านหลังสีม่วงบานเย็น มีก้านเป็นข้ออวบน้ำ เลื้อยตามดิน ก้านเถามีขนอ่อนๆ ดอกสีม่วงขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ ด้วยข้อ พบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ข้างคันนา ริมธารน้ำหรือที่ว่างทั่วไป เนื่องจาก ต้นมีก้านเป็นข้อ ๆ เลื้อยไปตามพื้นดิน ก้านจะมีขนอ่อนนิด ๆ ควรปลูกในกระถางปากกว้าง ดินลึกประมาณ ๕ นิ้ว ชอบความชุ่มชื้น แดดอ่อน แต่น้ำไม่ขัง หน้าฝนเจริญเติบโตเร็ว ขยายพันธุ์โดยตัดก้านให้มีความยาว ๓-๔ นิ้ว ปักชำลงในดิน ประมาณ ๒ อาทิตย์ จะมีรากงอกออกมาที่ก้านตามข้อ ดังนั้น การขยายพันธุ์จึงทำได้ง่าย
สรรพคุณหญ้าไผ่น้ำ นอกจากกินแก้ร้อนใน ยังสามารถลดการอับเสบของทางเดินปัสสาวะ แก้พิษงูกัด บำบัดอาการต่อมลูกหมากโต ผู้ที่เริ่มมีอาการของโรคไต โดยค่าของ BUN ในเลือดสูงเกินปกติ หรือ CREATININE สูงเกินค่าที่กำหนด เป็นการส่งสัญญาณให้รู้ว่า จะต้องงดทานเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว ถั่วที่มีโปรตีนสูง ซึ่งแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่มียารักษาเพียงรอให้อาการของผู้ป่วย ถึงขั้นอาเจียน ขาบวม ท้องอืด เบื่ออาหาร ท้ายสุดก็ต้องไปฟอกไต ถ้าคนไข้เริ่มมีอาการใหม่ ๆ ให้ทานน้ำต้มหญ้าไผ่น้ำ จะช่วยบรรเทาอาการของโรคไตได้ดี ดังเช่น บุคคลหลาย ๆ ท่าน ที่ทานยานี้แล้ว อาการของไตเสื่อมจะไม่ปรากฏ
วิธีต้มหญ้าไผ่น้ำ
ตัดหญ้าไผ่น้ำประมาณ ๑๐๐ – ๑๕๐ กรัม ล้างน้ำให้สะอาด ใส่หม้อต้ม (ควรเป็นหม้อเคลือบ) เติมน้ำสะอาด ๒ ลิตร ต้มให้เดือดแล้วหรี่ไฟอ่อน ต้มอีกประมาณ ๑ ชั่วโมง แล้วตักเอาหญ้าไผ่น้ำออก จะเห็นน้ำใส ๆ เป็นสีบานเย็นอ่อน ไม่ควรใส่น้ำตาลหรืออย่างอื่น วางทิ้งไว้ให้เย็น แล้วบรรจุขวดเข้าตู้เย็นทานได้ทุกเวลา วันละ ๓-๔ แก้ว หลังจากทานหญ้าไผ่น้ำแล้ว ประมาณ ๓ เดือน ควรไปเจาะเลือดตรวจค่า ของ * BUN * และ * CREATNINE * ด้วย
จาก จำรัส(เซ็นนิล)ดอทเน็ท
รูปประกอบจากอินเตอร์เน็ท

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พืชสมุนไพร

เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ  และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด
          ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด
         ภาครัฐเริ่มกลับมาเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยอีกครั้งด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 ว่า  " ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม"
          บทความข้าต้นเป็นส่วนหนึ่งในคำนำของหนังสือ "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด" ซึ่งเภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา เภสัชกรด้านเภสัชสาธารณสุข  หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้รวบรวมและเรียบเรียง ได้บันทึกไว้ ซึ่งต่อมาทางสำนักอนามัยฯ ได้นำหนังสือดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้ประโยชน์ในงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  การนี้ ทางโครงการฯ เห็นว่าเนื้อหาในหนังสือมีคุณค่าและให้ประโยชน์กับผู้ที่ร่วมงานกับโครงการฯ รวมถึงบุคคลทั่วไป จึงได้นำขึ้นเผยแพร่ในเวบไซต์โครงการฯ
          จึงหวังว่าผู้ที่เข้ามาหาข้อมูลและได้อ่านเรื่องต่างๆ ในเวบไซต์นี้คงได้รับความรู้และอาจนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองหรือบุคคลรอบข้างได้ไม่มากก็น้อย..